วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

2.3 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

จรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. ให้ระมัดระวังการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
2. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
3. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
4. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ
บัญญัติ 10 ประการ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
7. ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
8. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
9. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
10. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ

2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต

บริการ บนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
          1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (e-mail) เป็น บริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความ และไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย เช่น http://www.hotmail.com เป็นต้น


          2) เมลลิงลิสต์ (mailing list) เป็น เสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารและข้อมูลเฉพาะกลุ่ม การใช้งานจะเป็นลักษณะของการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยใช้อีเมลแอดเดรสเป็น สื่อติดต่อและรับข่าวสารต่างๆ จากกลุ่ม เช่น http://www.coolist.com เป็นต้น

         
 3) การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication) เป็น การสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่ง จากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และ วอยซ์โอเวอร์ไอพี เช่น แชท ห้องคุย เป็นต้น



          4) เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites) เป็น ชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวบรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ เช่น facebook, myspace, Linkedin, hi5 และ GotoKnow


          5) บล็อก (blog) เป็น ระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฏในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ ส่วนบนคำว่า “บล็อก” มาจากคำว่า “เว็บล็อก (web log)” เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุ วันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือ มัลติมิเดียได้ เช่น Blogger, GooggleBlog และ BLOGGANG


          6) วิกิ (wiki ) เป็น รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสมารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการ เรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับ ให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวัติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนั้นวิกิจึงเหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยน แปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างวิกิ เช่น Wiki pedia , WIKIBOOKS

7)บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล(remote login/telnet)

  บริการนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่ เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลกันก็ตาม ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามายังสถานที่เดิมเพื่อใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าว ทำให้ประหยัดเวลาเเละค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก ในการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกลผู้ใช้สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ ระยะไกลทำงานต่างๆตามที่ต้องการได้โดยป้อนคำสั่งผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้งานกำลังใช้งานอยู่ ผลลัพธ์ในการทำานเหล่านั้นก้จะถูกส่งกลับไปแสดงที่จอภาพของเครื่อง คอมพิวเตอร์นั้นด้วยเช่นกัน
                ในการใช้บริการนี้ ผู้ใช้งานจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูเเลเครื่องคอพิวเตอร์ที่้องการเข้าไป ใช้งานก่อน ซึ่งผู้ใช้ผู้นั้นจะต้องทราบชื่อบัญชีพร้อทั้งรหัสผานสำหรับการเข้าใช้ เคครื่องคอมพิวเตอร์นั้นด้วย โปรมเเกรมที่นิยมในการใช้บริการนี้ ได้แก่ โปรมแกรม telnet สำหรับโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการวินโดว์มีอยู่มากมาย  เช่น โปรแกรม QvtNet  โปรแกรม HyperTerminal  เป็นต้น
                เมื่อเริ่มต้นใช้โปรแกรมดังกล่าวข้างต้น  ผู้ใช้จะต้องระบุชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรือหมายเลขไอพีของเครื่องที่ต้อง การจะติดต่อเพื่อเข้าใช้งาน    จากนั้นโปรแกรมจะจำลองจอภาพของคอมพิวเตอร์ที่ระบุ  เพื่อให้ผู้ใช้กรอกชื่อบัญชีและรหัสผ่าน   หากสามารถกรอกได้ถูกต้องก็อนุญาตให้ผู้ใช้เข้าทำงานต่างๆในเครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้
                หลักการทำงานของบริการนี้   จะมีลักษณะเรียกว่า  ระบบลูกข่าย/แม่ข่าย (client/server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งที่เป็นผู้ให้บริการด้านต่างๆ  จะเรียกว่า  เครื่องผู้ให้บริการหรือเครื่องแม่ข่าย (server) และคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่ติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายเพื่อทำการร้องขอใช้ บริการต่างๆ  เรียกว่า เครื่องผู้ใช้บริการหรือเครื่องลูกข่าย (client)  โดยเครื่องแม่ข่ายเครื่องหนึ่งสามารถรองรับให้บริการแก่เครื่องลูกข่ายได้ จำนวนหลายเครื่อง  ซึ่งในการเข้าใช้ระบบระยะไกลนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลที่ผู้ขอเข้าไปใช้งานนั้นจะทำหน้าี่เป็น เครื่องแม่ข่ายส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานนั้นจะทำหน้าที่ เป็นเคร่องลูกข่าย  โดยเครื่องแม่ข่ายจะสามารถรองรับการติดต่อจากเครื่องลูกข่ายได้หลากหลาย ประเภท  ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเครื่องชนิดเดียวกันหรือมีระบบปฏิบัติการเหมือนกัน  เพราะการทำงานในระบบนี้จะไไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์
  8)การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล(FTP:flie transfer Protocol)
 เป็นการแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการฏโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า FTP  Server กับเครื่องไคลเอนต์ที่ใช้บริการเรีนกว่า FTP Client  การโอนย้ายข้อมูลแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การดาวโหลดและการอัปโหลด
  1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามา ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น www.download.com การดาวน์โหลดโปรแกรมป้องกันไวรัสจาก www.sanook.com มาใช้งานที่เครื่อง เป็นต้น
  2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์ เช่น FTP Commander



         9) บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ ยูสเน็ต ( usenet ) 
   มี ลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งคล้ายกับการเปิดเวทีสาธารณะให้ผู้คนทั่วโลกแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยผู้ใช้สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น



          10เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะสามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรี กีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่างภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser)ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่ายที่ทำไว้เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ว่า นอกเหนือจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการแลกเปลี่ยนเอกสารกันแล้ว อินเทอร์เน็ตยังสนับสนุนสืบค้นข้อมูล อันเป็นโปรแกรมการใช้งานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแบบหนึ่งนั่นคือเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งหมายถึงเครื่องบริการเว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมีข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพจะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วยการเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีกหน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติมพร้อมทั้งการเชื่อมโยงจุดใหม่อื่นๆ ซึ่งข่าวสารหน้าใหม่นี้อาจจะอยู่ในเครื่องบริการเว็บเดียวกันหรืออาจเป็นเครื่องบริการเว็บอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตกิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติ (hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้าเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเข้าสู่ระบบเว็บจะต้องใช้โปรแกรมทำงานซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator), อินเทอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ (Internet Explorer) มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วยให้การใช้เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น





          11) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce หรือ e – commerce ) เป็น การทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเว็บ ได้ มีระบบค้นหาหนังสือที่ลูกค้าต้องการ โดยดูตัวอย่างหนังสือก่อน และถ้าต้องการสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อได้โดยกรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ พร้อมทั้งเลือกวิธีการชำระเงินค่าหนังสือทีมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือระบบการนำส่งสินค้าแล้วจึงค่อยชำระเงิน ตัวอย่างการซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต

2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

        ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ
เชื่อมโยง เครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด

1.3 การเล์อกใช้ซอฟต์แวร์ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

1.3 การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
      การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสาร มีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการเครืข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคเอนต์เซิฟต์เวอร์ (Client/Sever) คือ การจัดการเรียกใช้ข้อมูลและโปรมแกรมจะอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคล เอนต์
                ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม ตัวอย่าง 1)  ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โตเอส (linux community enterprise operating system) 
นิยมเรียกย่อว่าCeniOS ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นอกจากยังสามารถนำ CentOS มาทำเซิร์ฟเวอร์บริการงานต่างๆ ในองค์กรซึ่งภายใน Centos มีแพ็กเกจย่อยที่นำมาใช้ทำเซิร์ฟเวอร์สำหรับใช้ในองค์กรจำนวนมาก


 \
                  2) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิฟเวอร์ (windows server)   ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่นและบริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ทสามารถพัฒนาให้บริการและจัดการกับแอพพลิเคชั่น ต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ เพื่อเพิ่มสรรถภาพการใช้งานสุงสุด ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน มีคุณสมบัติเด่น ดังนี้
1. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์
2. เวอร์ชวลไลเซชั่น (virtualization) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงมีรากฐานจาก hypervisor
3. มีระบบจัดการและดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา แอพพิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลาย ชิ้น และมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยใหม่ๆ อีกหลายชนิดเพื่อให้การติดตั้งระบบเครือข่ายตามนโยบายความปลอดภัยทำได้ง่าย ขึ้น ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อมูลสำคัญด้วย
     

1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก



การติดตั้งระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีจุดประสงค์เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือพื้นที่ขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
          1) อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตช์ โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ ซึ่งแต่ละชนิดแตกต่างกัน ดังนี้


               1.1) การ์ดแลน (LAN card) ชื่ออย่างเป็นทางการมีชื่อว่า การ์ดอีเธอร์เน็ต ซึ่ง จะมีสายที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน เรียกว่า สายแลน การเชื่อมต่อเครือข่ายและจะทำให้เราสามารถและเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่าง เครื่องได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งสามารถดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต





               1.2) ฮับ (hub) ฮับช่วยให้คอมพิวเตอร์
ต่างๆ บนเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับฮับโดยสายอีเทอร์เน็ต และส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านฮับ ฮับไม่สามารถระบุแหล่งข้อมูลหรือปลายทางที่กำหนดของข้อมูลที่ได้รับ ดังนั้นจึงส่งข้อมูลไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกับฮับ ซึ่งรวมถึงเครื่องที่ส่งข้อมูลดังกล่าวด้วย ฮับสามารถส่งหรือรับข้อมูล แต่ไม่สามารถทำทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้ฮับทำงานช้ากว่าสวิตช์ ฮับเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุดและมีราคาถูกที่สุดของอุปกรณ์ เหล่านี้




                 1.3) สวิตช์ (switch) สวิตช์ ทำงานแบบเดียวกับฮับ แต่สามารถระบุปลายทางที่กำหนดของข้อมูลที่ได้รับ ดังนั้นจึงส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องที่ควรจะได้รับข้อมูล เท่านั้น สวิตช์สามารถส่งและรับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับ ถ้าเครือข่ายในบ้านมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสี่เครื่อง หรือคุณต้องการใช้เครือข่ายสำหรับกิจกรรมที่ต้องการการส่งข้อมูลจำนวน มากระหว่างคอมพิวเตอร์ (เช่น เล่นเกมบนเครือข่าย หรือฟังเพลงร่วมกัน) คุณควรใช้สวิตช์มากกว่าฮับ สวิตช์มีราคาแพงกว่าฮับ
 

               1.4) โมเด็ม (modem) โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก และแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัล มาจากคำว่า MOdelatory/DEModulator กระบวนการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modlation) และกระบวนการแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation)โดยวิธีการจะเป็นการแปลงรูปทรงของคลื่นเพื่อให้สามารถรับรู้ สารสนเทศแบบดิจิทัลได้เท่านั้น เช่น กรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่น (frequency) รอบคลื่นปกติในคาบเวลาที่กำหนดให้อาจใช้แทนบิต 0 หรือกรรมวิธีเปลี่ยนแปลงช่วงกว้างของคลื่น (amplitude) อาจใช้แทนบิต 1 นั่นคือ ความสูงของคลื่นปกติอาจมีนัยนะแทน 1 ในขณะที่คลื่นที่ต่ำกว่าใช้แทน 0 เนื่องเพราะว่า คุณสมบัติของคลื่นย่อมไม่อาจแปลงรูปทางเป็นลักษณะเปิด/ปิด เพื่อแทนสัญญาณดิจิทัลได้อย่างตรงๆ

 

               1.5) อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (router) เรา เตอร์จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้ และสามารถส่งผ่านข้อมูลระหว่างสองเครือข่าย เช่น ระหว่างเครือข่ายในบ้านกับอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการกำหนดปริมาณการใช้เครือข่ายนี้จึงเป็นที่มาของชื่อเราเตอร์ โดยเราเตอร์มีทั้งแบบผ่านสาย (ใช้สายอีเทอร์เน็ต) หรือไร้สาย ในกรณีที่คุณเพียงต้องการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ของคุณ ฮับและสวิตช์สามารถใช้งานได้ แต่ถ้าคุณต้องการให้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดของคุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดย ใช้โมเด็มเครื่องเดียว ให้ใช้เราเตอร์หรือโมเด็มที่มีเราเตอร์ในตัว นอกจากนี้โดยทั่วไปแล้วเราเตอร์ยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยในตัว เช่น ไฟร์วอลล์ เราเตอร์จะมีราคาแพงกว่าฮับและสวิตช์

 


               1.6) สายสัญญาณ (cable) เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสาย โคแอกซ์ สายตีเกลียวคูแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน สายใยแก้วนำแสง

          2) การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก การ เชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้กันในปัจจุบันมั 2 แบบหลักๆ คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ และการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล

               2.1) การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ หาก มีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้ (cross line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้ แต่ถ้ามีมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตช์หรือฮับด้วย
               2.2) การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล จาก ข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า 100 เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกสำหรับระบบเครือข่าย ดังนี้
                    แบบที่หนึ่ง คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ (repeater) ไว้ทุกๆ ระยะ 100 เมตร เพราะเนื่องจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถติดตั้งฮับหรือสวิตช์โดยผ่านสายตีเกลียว คู่ได้
 


                    แบบที่สอง คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ และเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์ ซึ่งในกรณีที่มีการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างเครือข่ายจะมีความล่าช้ามาก จึงควรเลือกใช้การเช่าสัญญาณของบริษัทผู้ให้บริการ ซึ่งจะได้ความเร็วมากกว่า
 


                    แบบที่สาม ถือ ว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณ ที่เลือกใช้ คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย การติดตั้งระบบเครือข่ายโดยใช้สายใยแก้วนำแสงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (media converter) ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ในการแแปลงสัญญาณจากสายทองแดง (copper) ไปเป็นสัญญาณผ่านสายใยแก้วนำแสง
 


                    แบบที่สี่ คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายสัญญาณ ซึ่งเหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด โดยปกติแล้วการสื่อสารแบบไร้สายจะทำงานบนมาตรฐาน 802.11b (ตัวอักษรที่กำกับด้านท้ายมาตรฐานใช้บอกความเร็วในการส่งข้อมูล) ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลสูง
 


                    แบบที่ห้า คือ เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL (Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถส่งข้อมูลในขณะเดียวกันกับการใช้งานโทรศัพท์ได้ ซึ่งความสามารถพิเศษของเทคโนโลยี G.SHDSL นี้ สามารถช่วยขยายวงของระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลถึง 6 กิโลเมตร โดยผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลถึง 2.3 Mbps

                    แบบที่หก คือ เทคโนโลยีแบบ ether over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถจะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเครือข่ายแลนผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาให้มีระยะ ไกลได้ถึง 1.5 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10 Mbps และยังสามารถรับส่งข้อมูลพร้อมกับใช้งานโทรศัพท์ในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย
 

1.1ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์



1.1ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมาย ถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)


เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 6ประเภทดังนี้
1.เครือข่ายเฉพาะที่ หรือเเลน (Locak Area Network : LAN)
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3.เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน (Wide Area Network : WAN)
4.เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต (intrenet)         
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอ็กทราเน็ต (extrenet)
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet)