วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต

บริการ บนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
          1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (e-mail) เป็น บริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความ และไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย เช่น http://www.hotmail.com เป็นต้น


          2) เมลลิงลิสต์ (mailing list) เป็น เสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารและข้อมูลเฉพาะกลุ่ม การใช้งานจะเป็นลักษณะของการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยใช้อีเมลแอดเดรสเป็น สื่อติดต่อและรับข่าวสารต่างๆ จากกลุ่ม เช่น http://www.coolist.com เป็นต้น

         
 3) การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication) เป็น การสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่ง จากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และ วอยซ์โอเวอร์ไอพี เช่น แชท ห้องคุย เป็นต้น



          4) เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites) เป็น ชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวบรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ เช่น facebook, myspace, Linkedin, hi5 และ GotoKnow


          5) บล็อก (blog) เป็น ระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฏในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ ส่วนบนคำว่า “บล็อก” มาจากคำว่า “เว็บล็อก (web log)” เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุ วันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือ มัลติมิเดียได้ เช่น Blogger, GooggleBlog และ BLOGGANG


          6) วิกิ (wiki ) เป็น รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสมารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการ เรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับ ให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวัติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนั้นวิกิจึงเหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยน แปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างวิกิ เช่น Wiki pedia , WIKIBOOKS

7)บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล(remote login/telnet)

  บริการนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่ เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลกันก็ตาม ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามายังสถานที่เดิมเพื่อใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าว ทำให้ประหยัดเวลาเเละค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก ในการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกลผู้ใช้สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ ระยะไกลทำงานต่างๆตามที่ต้องการได้โดยป้อนคำสั่งผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้งานกำลังใช้งานอยู่ ผลลัพธ์ในการทำานเหล่านั้นก้จะถูกส่งกลับไปแสดงที่จอภาพของเครื่อง คอมพิวเตอร์นั้นด้วยเช่นกัน
                ในการใช้บริการนี้ ผู้ใช้งานจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูเเลเครื่องคอพิวเตอร์ที่้องการเข้าไป ใช้งานก่อน ซึ่งผู้ใช้ผู้นั้นจะต้องทราบชื่อบัญชีพร้อทั้งรหัสผานสำหรับการเข้าใช้ เคครื่องคอมพิวเตอร์นั้นด้วย โปรมเเกรมที่นิยมในการใช้บริการนี้ ได้แก่ โปรมแกรม telnet สำหรับโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการวินโดว์มีอยู่มากมาย  เช่น โปรแกรม QvtNet  โปรแกรม HyperTerminal  เป็นต้น
                เมื่อเริ่มต้นใช้โปรแกรมดังกล่าวข้างต้น  ผู้ใช้จะต้องระบุชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรือหมายเลขไอพีของเครื่องที่ต้อง การจะติดต่อเพื่อเข้าใช้งาน    จากนั้นโปรแกรมจะจำลองจอภาพของคอมพิวเตอร์ที่ระบุ  เพื่อให้ผู้ใช้กรอกชื่อบัญชีและรหัสผ่าน   หากสามารถกรอกได้ถูกต้องก็อนุญาตให้ผู้ใช้เข้าทำงานต่างๆในเครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้
                หลักการทำงานของบริการนี้   จะมีลักษณะเรียกว่า  ระบบลูกข่าย/แม่ข่าย (client/server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งที่เป็นผู้ให้บริการด้านต่างๆ  จะเรียกว่า  เครื่องผู้ให้บริการหรือเครื่องแม่ข่าย (server) และคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่ติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายเพื่อทำการร้องขอใช้ บริการต่างๆ  เรียกว่า เครื่องผู้ใช้บริการหรือเครื่องลูกข่าย (client)  โดยเครื่องแม่ข่ายเครื่องหนึ่งสามารถรองรับให้บริการแก่เครื่องลูกข่ายได้ จำนวนหลายเครื่อง  ซึ่งในการเข้าใช้ระบบระยะไกลนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลที่ผู้ขอเข้าไปใช้งานนั้นจะทำหน้าี่เป็น เครื่องแม่ข่ายส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานนั้นจะทำหน้าที่ เป็นเคร่องลูกข่าย  โดยเครื่องแม่ข่ายจะสามารถรองรับการติดต่อจากเครื่องลูกข่ายได้หลากหลาย ประเภท  ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเครื่องชนิดเดียวกันหรือมีระบบปฏิบัติการเหมือนกัน  เพราะการทำงานในระบบนี้จะไไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์
  8)การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล(FTP:flie transfer Protocol)
 เป็นการแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการฏโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า FTP  Server กับเครื่องไคลเอนต์ที่ใช้บริการเรีนกว่า FTP Client  การโอนย้ายข้อมูลแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การดาวโหลดและการอัปโหลด
  1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามา ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น www.download.com การดาวน์โหลดโปรแกรมป้องกันไวรัสจาก www.sanook.com มาใช้งานที่เครื่อง เป็นต้น
  2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์ เช่น FTP Commander



         9) บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ ยูสเน็ต ( usenet ) 
   มี ลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งคล้ายกับการเปิดเวทีสาธารณะให้ผู้คนทั่วโลกแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยผู้ใช้สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น



          10เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะสามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรี กีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่างภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser)ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่ายที่ทำไว้เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ว่า นอกเหนือจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการแลกเปลี่ยนเอกสารกันแล้ว อินเทอร์เน็ตยังสนับสนุนสืบค้นข้อมูล อันเป็นโปรแกรมการใช้งานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแบบหนึ่งนั่นคือเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งหมายถึงเครื่องบริการเว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมีข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพจะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วยการเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีกหน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติมพร้อมทั้งการเชื่อมโยงจุดใหม่อื่นๆ ซึ่งข่าวสารหน้าใหม่นี้อาจจะอยู่ในเครื่องบริการเว็บเดียวกันหรืออาจเป็นเครื่องบริการเว็บอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตกิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติ (hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้าเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเข้าสู่ระบบเว็บจะต้องใช้โปรแกรมทำงานซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator), อินเทอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ (Internet Explorer) มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วยให้การใช้เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น





          11) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce หรือ e – commerce ) เป็น การทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเว็บ ได้ มีระบบค้นหาหนังสือที่ลูกค้าต้องการ โดยดูตัวอย่างหนังสือก่อน และถ้าต้องการสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อได้โดยกรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ พร้อมทั้งเลือกวิธีการชำระเงินค่าหนังสือทีมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือระบบการนำส่งสินค้าแล้วจึงค่อยชำระเงิน ตัวอย่างการซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น